 |
ศุลกากรไทยเค้าใช้อะไรมาวัดสำหรับการเก็บภาษีขาเข้า
|
|
ดิฉันสั่งของผ่านทางเว็บไซด์ต่างประเทศ หลังจากผ่านไปครบ 1 อาทิตย์จากวันที่ทางเว็บแจ้งว่าส่งของมาให้แล้ว ก็ได้รับใบแจ้งจากทางไปรษณีย์ว่าให้ไปรับของได้ที่ทำการไปรษณีย์ โดยต้องเสียภาษีนำเข้า และอื่นๆ รวมทั้งค่าใบริการไปรษณีย์ สิริรวมแล้วก็ 802 บาท
ตอนที่ไปรับก็รู้สึกว่า ทำไม?ต้องเสียภาษี นี่ซื้อมาใช้ ไมได้นำมาขาย แต่ก็ไม่อยากจะคิดติดใจอะไรมาก กลัวว่าคิดไปจะเครียดเปล่าๆ เรื่องเงินๆทองๆ
จนตกบ่ายได้คุยกับเพื่อน สั่งของเหมือนกัน (ของที่สั่งไปคือซีดีเพลง) แต่เพื่อนสั่งไป 3 แผ่น ตัวเองสั่งไป 4 แผ่น (และมันไม่ใช่ซีดีที่เหมือนกันด้วย มันเปนซีดีคนละอัลบั้ม คนละซิงเกิ้ลเลย) แต่หน้าซองพัสดุเขียนเหมือนกัน คือ ราคาของ 10 USD , CD
สิ่งที่ติดใจคือ ทำไม? เพื่อนไม่โดนภาษี แต่ตัวเองโดน เค้าใช้อะไรมาวัดในการเก็บภาษีแต่ละครั้ง พอลองสอบถามคนที่เคยสั่งของและนำเข้ามา บางคนก็บอกว่า ไม่โดนภาษี บางคนก็บอกว่า โดนภาษี
อย่างอีกกรณีหนึ่ง เพื่อนอีกคน เคยสั่งดีวีดีคอนเสิร์ตเข้ามาแผ่นเดียว ในขณะที่ ณ เวลานั้นหลายๆคนสั่ง และสั่งเข้ามาในทำนองค้าขายด้วย (คือสั่งหลายแผ่น) แต่เพื่อนก็โดนภาษี และกลุ่มที่สั่งด้วยกันบางคนก็โดน บางคนก็ไม่โดน
แบบนี้มันบอกได้รึเปล่าคะว่า การทำงานของศุลกากรไทย ไม่มีมารตฐานเลย คิดอยากเก็บก็เก็บ ไม่อยากเก็บก็ไม่เก็บ
จริงๆ คิดว่า ควรจะทำให้มันเป็นกรณีเดียวกันหมดจะดีกว่ามั้ยคะ ในเมื่อเค้าไม่ได้สั่งมาค้าขาย ถ้าคิดจะไม่เก็บ ก็ต้องไม่เก็บให้เหมือนกันหมด หรือถ้าคิดจะเก็บก็ควรเก็บทุกคน เพราะการทำแบบนี้ มันทำให้ผู้บริโภครู้สึกเหมือนกับว่าไม่ได้รับความยุติธรรมน่ะค่ะ
ใครพอจะให้คำตอบได้บ้างไหมคะว่า เค้าใช้มาตรฐานอะไรมาวัด
ขอบคุณสำหรับทุกคอมเม้นที่เข้ามาช่วยไขความกระจ่างมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ
ขอบคุณค่ะ
จากคุณ |
:
คนเครียดๆ
|
เขียนเมื่อ |
:
24 ก.ค. 52 16:45:13
A:125.24.216.7 X:
|
|
|
|  |