ความคิดเห็นที่ 2
5. จากแบบสอบถามพบว่า จำนวนครั้งของการสะกดจิตด้วยคำพูดและ เทปที่เริ่มก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดีขึ้นคือ 3 ครั้ง 50% และ 4 ครั้ง 50% โดยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดีขึ้น ขึ้นกับจำนวนครั้งที่ฟังเทป หรือถูกสะกดจิตด้วยคำพูด
6. การสะกดจิตด้วยเทป สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไปได้ และมีความถาวรของพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วด้วย หลังถูกสั่งหรือฟังเทปติดต่อกันทุกวันนาน 1 เดือน 50% และ 2 เดือนขึ้นไป มีความถาวร 100% แต่ยาจะช่วยให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงดีขึ้นและคงที่อยู่ที่ระดับหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถทำให้หมดสิ้นไปได้ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่ได้ขึ้นกับระยะเวลาของการใช้ยา และเมื่อหยุดยา พฤติกรรมต่าง ๆ ก็เปลี่ยนแปลงกลับเป็นเช่นเดิมอีก
7. การใช้ยา ช่วยปรับได้เฉพาะสมาธิและการอยู่ไม่นิ่งเท่านั้น แต่ไม่ได้ปรับด้าน จิตใจ, สังคม อารมณ์ และความไม่มั่นใจตัวเอง แต่การสะกดจิตทั้งด้วยคำพูดและเทป สามารถปรับได้ทั้งคนหมดทุก ๆ ด้าน ขึ้นอยู่กับการให้ข้อมูลเข้าไป คือ ไม่สุภาพต่อผู้ใหญ่, ดูดนิ้ว/ กัด/ เคี้ยวผ้าห่ม, ร้องไห้ง่าย, มีความโกรธเคืองหรือขุ่นเคืองใจซ่อนอยู่, ขี้กลัว, พูดโกหก, ขี้อาย, ก่อเรื่องเดือดร้อนบ่อย, ไม่มีความรับผิดเวลาทำผิด, ชวนทะเลาะ, หน้าบึ้ง หน้างอ, ขโมยของ, ไม่เชื่อฟัง, ขี้กังวลเกี่ยวกับความเจ็บป่วย, ขี้ใจน้อย, บ่นปวดศีรษะ (เวลาไปโรงเรียน), อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย, ทะเลาะวิวาทบ่อย, เข้ากับพี่น้องไม่ดี, หงุดหงิดง่ายเวลาทำอะไรไม่สำเร็จ, เป็นเด็กไม่ต่อยรื่นเริง, ปัญหาการกิน, บ่นปวดท้อง, บ่นปวดเจ็บตรงที่ต่าง ๆ, คลื่นไส้-อาเจียน, รู้สึกถูกเอาเปรียบ, ชอบโอ้อวด, ปล่อยให้คนอื่นรังแก, ปัญหาการขับถ่าย
8. ระหว่างการบำบัดด้วยยา ก่อให้เกิดพฤติกรรมบางอย่างเพิ่มขึ้นคือ การร้องไห้ ง่าย หรือร้องไห้บ่อย มีความโกรธหรือขุ่นเคืองใจซ่อนอยู่ ขี้กลัว (กลัวสิ่งที่ไม่คุ้นเคย เช่น บุคคลหรือสถานที่ใหม่ หรือการไปโรงเรียน) ขี้อาย, ชวนทะเลาะ, หน้าบึ้ง หน้างอ, ขี้กังวลเกี่ยวกับการอยู่คนเดียว การเจ็บป่วย, ขี้น้อยใจ, ชอบแกล้งผู้อื่น, บ่นปวดศีรษะ, อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย, ทะเลาะวิวาทบ่อย, หงุดหงิดง่ายเวลาทำอะไรไม่สำเร็จ, ก่อกวนเด็กอื่น, โดยปกติแล้วเป็นเด็กไม่ค่อยรื่นเริง, มีปัญหาการกิน , บ่นปวดท้อง, มีปัญหาการนอน, คลื่นไส้-อาเจียน, รู้สึกถูกเอาเปรียบ โดยพ่อ?แม่ บางรายได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมจากแบบสอบถามคือ แขน-ขาสั่น, ซึมคิดอะไรไม่ออก, พูดไม่ออก, ไม่อยากพูด, อารมณ์ดีผิดปกติ เช่น เปิดหนังสือ หยิบดินสอ ทำอะไรก็หัวเราะ และบางราย รายงานว่า ค่ายาแพงมาก ตั้งแต่อาทิตย์ละ 500 ? 750 บาท ทำให้ต้องไปขายที่ดินมาเพื่อนำเงินมาจ่ายค่ารักษา เพราะต้องกินยาไปตลอด ส่วนการบำบัดด้วยการสะกดจิตด้วยคำพูดและเทป ไม่พบผลข้างเคียงใด ๆ ทั้งสิ้น
ข้อเสนอแนะ 1. ควรสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการสะกดจิต เพื่อการบำบัดในโรคต่าง ๆ ให้กว้างขวางขึ้นจนครอบคลุมไปทุกโรค เพื่อเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญและเป็นทางเลือกสำหรับการรักษาโรคต่าง ๆ แบบองค์รวมต่อไป
2. ควรส่งเสริมให้มีการจัดอบรมวิธีการสะกดจิตในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้กว้างขวางขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกในการบำบัดรักษาและช่วยประหยัดงบประมาณค่ายาทั้งภาครัฐและประชาชนผู้มารับการรักษา
3. ควรสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนมีทางเลือก เพื่อการบำบัดรักษาหลาย ๆ วิธี และบรรจุเข้าไปในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยหลาย ๆ ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา (Alternative Medicine, 1997 อ้างในประสาน, 2542 : 185)
4. เมื่อการบำบัดด้วยการสะกดจิต สามารถช่วยทำให้พฤติกรรมต่าง ๆ ในเด็ก สมาธิสั้นและซนผิดปกติ ที่อาจมีสาเหตุมาจากสมองและความสมดุลย์ของสารสื่อประสาทผิดปกติให้หมดสิ้นไปได้ ฉะนั้น ถ้านำเทปสะกดจิตที่ใช้บำบัดเด็กเหล่านี้ไปให้เด็กปกติฟัง น่าจะเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติขึ้นได้ และควรศึกษาทำเทปสะกดจิตเพื่อใช้ป้องกันโรคอื่นๆ อีก เช่น ออทิซึม, มะเร็ง ฯลฯ ก่อนที่จะแสดงอาการและบำบัดอาการทีหลัง ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณในการบำบัดรักษามากขึ้นอีกหลายเท่าของการป้องกัน
จากการศึกษาข้อมูลในวารสารทางการแพทย์ต่าง ๆ ในต่างประเทศพบว่า ได้มีการนำการสะกดจิตบำบัดมาใช้ในโรคทางอายุรกรรมหลาย ๆ โรค เช่น ใช้รักษากลุ่มอาการของโรคที่มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ผิดปกติ (Irritable bowel syndrome) ได้ผลดีมาก ด้วยการสั่งไปที่ลำไส้ ทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้กลับเป็นปกติ ความเจ็บปวดลดลง และลมในกระเพาะหมดไป (Vidakovic-Vukic, 1999 : 53-56) และเนื่องจากการสะกดจิต มีผลทำให้การรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บปวดของปลายประสาทลดลง จึงมีการนำการสะกดจิตไปใช้ในการช่วยลดความเจ็บปวดในหลายโรค เช่น ลดความเจ็บปวดในเด็กที่แขนขาหักระหว่างการตรวจร่างกายของแพทย์ได้ (Iserson, 1999 : 53-56 )
ใช้บำบัดอาการปวดในผู้ป่วยที่มีแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกในหอผู้ป่วย ICU ทำให้ไม่เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาแก้ปวดที่สกัดจากฝิ่น และช่วยให้ระยะเวลาที่ใช้เพื่อการรักษาแผลลดลง (Ohrbach, et al., 1998 : 167-179) นอกจากนี้ การสะกดจิตยังช่วยลดปฏิกิริยาของผิวหนังที่มีต่อสารฮิสตามีน (histamine) (Laidlaw, et al., 1996 : 242-248) รวมทั้งช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยที่ขาดสมาธิเนื่องจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ สมองกระทบกระเทือน (Laidlaw, 1993 : 158-177)
จากคุณ :
thaihypn
- [
24 ต.ค. 50 11:43:37
]
|
|
|