ความคิดเห็นที่ 4
ความไร้ระเบียบและสมอง หนึ่งในการค้นพบเรื่องความไร้ระเบียบกล่าวว่าสมองจัดองค์กรของมันโดยความไร้ระเบียบ
สมองมนุษย์เป็น "ระบบสะท้อนกลับที่ไม่เป็นเส้นตรง" อันซับซ้อน มันบรรจุไปด้วยเซลสมองเป็นพันล้านเชื่อมโยงถึงกันและกัน
สัญญาณในสมองเดินทางในวงจรสะท้อนกลับอย่างไม่มีจุดจบ นำพาข้อมูลมากมายมหาศาล
แม้ว่าเราจะรู้ถึงสมองบางส่วนว่ามีภารกิจที่แน่นอนบางประการ, กิจกรรมในพื้นที่หนึ่งก็สามารถจุดชนวนให้เกิดการตอบสนองทางระบบประสาทได้ในขอบเขตที่กว้างไกลกว่าตัวพื้นที่นั้น
การทดลองแสดงให้เห็นว่าสมองมีตัวดึงดูดแปลกประหลาด ที่จริงแล้วมีตัวดึงดูดแปลกประหลาดอยู่จำนวนนับไม่ถ้วน แต่ละตัวก็ทำแต่ละกิจกรรมโดยเฉพาะ ภาพของเส้นกราฟ (เครื่องวัดคลื่นสมอง) แสดงตัวดึงดูดแปลกประหลาดหนึ่งเมื่อคนอยู่ขณะพัก และก็จะเป็นตัวดึงดูดแปลกประหลาดตัวอีกตัวหนึ่งเมื่อคนๆ เดียวกันนี้กำลังคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สมองที่มีสุขภาพดี ดำรงสภาพอยู่ในความไร้ระเบียบระดับต่ำซึ่งจัดองค์กรตนเองเสมอ นำไปสู่แบบแผนที่เรียบง่ายเมื่อต้องเผชิญกับสิ่งเร้าซึ่งคุ้นเคย
แบบจำลองความไร้ระเบียบแห่งจิต (Consciousness) ถ้าเราสันนิษฐานว่าสภาวะต่างๆ ภายในสมองเชื่อมโยงกับจิตรู้ เราก็สามารถเข้าถึงแบบจำลองพื้นฐานของจิตได้ ทฤษฎีไร้ระเบียบจะช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของจิตได้อย่างไรล่ะ?
โดยพื้นฐาน เซลสมองส่งสัญญาณเมื่อเซลถูกกระตุ้นโดยสัญญาณซึ่งเข้ามาจากเซลสมองอื่น, แนวคิดในเรื่องพื้นที่สถานภาพที่ใช้สร้างรูปภาพเพื่อให้เห็นอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นภายในสมอง แต่ละเซลสมองเป็นตัวแทนของตัวแปรหนึ่งๆ ในพื้นที่สถานภาพแสดงว่า แต่ละเซลสมองจะแสดง ๑ มิติของตน ดังนั้นสมองจึงมีจำนวนถึง ๑๐ พันล้านมิติ ถ้าจิตในความเป็นจริงสัมพันธ์กับกิจกรรมของเซลสมอง โดยผ่านแบบจำลองนี้ เราก็จะได้ตัวแทนของจิตซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์ต่อไปได้ -จิตถูกแทนด้วยจุดซึ่งเคลื่อนไหวภายในพื้นที่สถานภาพ จุดนี้ถูกอธิบายว่าเป็น ปรากฏขึ้นด้วยจิตอหังการ์ (ego made tangible) ของเรา -จิตคือช่วงเวลาแห่งการก่อกวนในขณะกำลังงีบหลับ
ข้อสรุปอะไรที่เราจะได้จาก จุด ? ประการแรก วิถีของจุดเป็นความไร้ระเบียบ ระบบอาจจะถูกกำหนดขึ้นมา แต่พฤติกรรมของจุดเป็นอะไรที่ไม่อาจคาดเดาได้ ทำให้สามารถพูดได้ว่าเราไม่เคยคาดเดาพฤติกรรมมนุษย์ได้อย่างแท้จริงเลย
สอง การเคลื่อนที่ของจุด ถึงแม้ว่าจะเป็นความไร้ระเบียบ แต่ก็ไม่ใช่สุ่มสี่สุ่มห้า มันก็เคลื่อนตามแบบแผนของตัวดึงดูดประหลาด ในที่นี้อาจจะเป็นปรากฎการณ์ที่รู้จักกันในนาม บุคลิกภาพ
สาม แบบจำลองนี้ไม่เป็นตัวเลขที่สามารถแบ่งแยกได้อย่างสมบูรณ์ จึงไม่อาจคาดเดาหรือสืบเนื่องกันและกันได้มันไหลเลื่อนและยืดหยุ่น
สี่ ไม่มีความจำกัดของจำนวนสภาวะหรือสภาพการณ์ซึ่งระบบนี้สามารถบรรลุถึง จำนวนของเซลสมองอาจมีจำนวนจำกัด แต่พื้นที่สถานภาพไม่มีความจำกัด ดังนั้น จิตโดยตัวของมันเองจึงไม่มีความจำกัด
ข้างบนเป็นทบที่นำมาปะไว้ด้วยเข้าใจมีส่วนเกี่ยวข้องกับ "รอยหยัก" ของสมองค่ะ สมองมนุษย์เป็นระบบ "สะท้อนกลับที่ไม่เป็นเส้นตรง" และอนุภาคเคลื่อนที่ในพื้นที่สถานภาพซึ่ง "แต่ละเซลสมองจะแสดง ๑ มิติของตน ดังนั้นสมองจึงมีจำนวนถึง ๑๐ พันล้านมิติ" แสดงถึงการสร้าง "พื้นที่สถานภาพ" คือสร้างความไม่จำกัดในพื้นที่ที่มีขอบเขตจำกัด รอยหยัก...อาจจะเกิดด้วยเหตุนี้ล่ะมังคะ
จากคุณ :
หลานสาวนายพล
- [
19 มี.ค. 47 09:24:51
A:202.183.161.24 X:
]
|
|
|