ความคิดเห็นที่ 14
ขออีกเที่ยวนะ 1 วันมี 86400 วินาทีเป๊ะนะ ยกเว้นวันที่มี leap second ที่ 1 วันจะมี 86401 วินาที
ส่วน 1 ปี มี 31,556,925.9747 วินาที หรือ 365 วัน กับ 5 ชั่วโมง 48 นาที 45.9747 วินาที อ้างอิงจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเมื่อปี 1900
แต่เดิม คำนิยามของวินาทีคือ 1/86400 ของค่าเฉลี่ยความยาวของหนึ่งวัน (โลกหมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบ)
ต่อมาก็เกิดพบว่าการหมุนรอบตัวเองของโลกมันไม่หม่ำเหมอ ก็เลยเปลี่ยนคำนิยามของวินาทีเป็น
1/31,556,925.9747 ของระยะเวลา 1 ปี (ใช้ปี 1900) ที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ
ก็ยังมีปัญหาว่าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ไม่หม่ำเหมออีก และนักวิทยาศาสตร์ต่างมีความเห็นว่าควรจะนิยามหน่วยของเวลาจากสิ่งที่จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ก็เลยใช้ความถี่การสั่นของอะตอมมาเป็นตัวนิยามเวลาแทน เมื่อปี 1967 เป็น the duration of 9,192,631,770 periods of the radiation corresponding to the transition between the two hyperfine levels of the ground state of the cesium 133 atom. (อิอิ แปลไม่ไหว ขออภัยจ้า)
พอปรับคำนิยามของวินาทีเป็นแบบนี้แล้ว ความยาวของวัน กับการบอกเวลามาตรฐาน (Coordinated Universal Time หรือ UTC) ก็จะไม่ตรงเป๊ะกับการหมุนรอบตัวเอง+การโคจรรอบดวงอาทิตย์ โลกจะหมุนช้าลงทีละนิด ซึ่งทำให้รอบวัน (ที่โลกหมุนรอบตัวเองครบรอบ) ยาวขึ้น 1.4 millisec ต่อวันต่อศตวรรษ ทำให้ต้องมีการใส่ leap second เพื่อให้การบอกเวลา ยังคงใกล้เคียงกับการหมุน+รโคจรจริง (ต่างกันไม่เกิน 0.9 วินาที) ตั้งแต่เริ่มใส่ leap second เมื่อปี 1972 ก็ต้องใส่ไป 22 ครั้ง หรือ 22 วินาทีแล้ว
จากคุณ :
alan the lamb
- [
11 ธ.ค. 46 15:05:16
]
|
|
|