ความคิดเห็นที่ 3
คุณ Bok Bok (youaremystellar) ตอบได้ถูกต้องแล้วครับ พูดง่ายๆ คือสินค้าอะไรที่เราคิดว่า "สู้ไม่ได้" ก็จะบรรจุไว้ในบัญชีรายการสินค้าอ่อนไหว (Sensitive List) ความหมายคือ ตอนนี้จะยังไม่ลดภาษีให้ ขอเวลาปรับตัวหน่อย แต่ในที่สุดแล้วก็จะต้องลด เช่น ในอีก 5 ปี 10 ปี ข้างหน้า
ขั้นตอนการดำเนินการของรัฐในการเจรจา ก่อนที่รัฐจะไปเจรจาตกลง ก็จะสอบถามภาคเอกชน (ส่วนใหญ่ก็อาศัยกลไกของสภาหอการค้าไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) ว่าสินค้าอะไรที่คิดว่าสู้ได้ อะไรสู้ไม่ได้ ภาคเอกชนก็ให้ความเห็นไป รัฐก็นำไปขึ้นโต๊ะเจรจา
แต่ในการเจรจา มันก็ต้องมีทั้งได้และเสีย ได้อย่างเดียว ประเทศคู่เจรจาก็คงไม่ยอม ถ้าเสียอย่างเดียว เรื่องอะไรเราจะยอม ในทางปฏิบัติจริง บางครั้งก็มีแลกกันครับ คือสินค้านี้เรายอมทั้งๆ ที่รู้ว่าสู้ไม่ได้ เพื่อแลกกับสินค้าอีกตัวหนึ่งที่ประเทศเราผลิตมาก ได้น้ำได้เนื้อมากกว่า
ถ้าคุณติดตามข่าว ก็จะเห็นว่าบางอุตสาหกรรมออกมาโวยวาย ว่าไปยอมเขาได้อย่างไร แบบนี้อุตสาหกรรมบ้านเราเจ๊งแน่ สาเหตุก็อย่างที่ผมอธิบายไว้ข้างบนแหละครับ
ผมไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐนะครับ หากคุณจะมองโทนเสียงผมว่าเข้าข้างรัฐนี่หว่า ไม่ใช่หรอกครับ ที่ดีก็ว่ากันตรงๆ ว่าดี ที่ไม่ดีก็มีครับ คือคุณทักษิณแกเดินหน้าเร็วมากๆๆ เจ้าหน้าที่รัฐตามไม่ค่อยจะทัน เช่น ไปตกลงกับประเทศหนึ่งทั้งๆ ที่เจ้าหน้าที่รัฐยังไม่ได้ศึกษาให้ละเอียดเลยว่าโครงสร้างภาษีของประเทศคู่เจรจานั้นเป็นอย่างไร เรื่องนี้ความแตกในวงสัมนา
อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ไปที่นี่เลยครับ Department of Trade Negotiations, Ministry of Commerce www.dtn.moc.go.th
จากคุณ :
หนุ่มไทยไร้นาม
- [
11 ก.ย. 48 15:53:55
]
|
|
|